27 เมษายน 2024
แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

                การผ่าท้องมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มาดูซิว่า จริงๆ แล้วการลงมีดบนร่างคน โดยเฉพาะการทำคลอดเพื่อเอาทารกที่คลอดตามปกติไม่ได้ออกมานั้น เกิดขึ้นเมื่อไร และมีโอกาสสำเร็จมากน้อยเพียงไร

                ผ่าตัดคลอดยุคโบราณ

                การผ่าตัดคลอดเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งนี้ได้มีนิทานทั้งในวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก วิธีผ่านี้ส่งผลให้แม่และลูกมีชีวิตอยู่ต่อได้ ตามตำนานเทพเจ้ากรีก เทพอพอลโลได้นำแอสคลีเพียส (Asclepius) เทพเจ้าแห่งการแพทย์ชื่อดังออกจากท้องของแม่

                นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงจำนวนมากเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดที่ปรากฏในฮินดูโบราณอีกด้วย อียิปต์ กรีก โรมันและชาวบ้านในยุโรปอื่นๆ ภาพแกะสลักจีนโบราณแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของหญิงที่ยังมีชีวิตอยู่หลังผ่าคลอดแล้ว อีกทั้งยังมีความเชื่อเกี่ยวกับลูกแฝด เมื่อคลอดแล้วต้องฆ่าลูกคนโต และทำพิธีกรรมชำระความบริสุทธิ์ให้แก่สตรีที่ทำคลอดด้วย

                แต่บันทึกในหน้าประวัติศาสตร์เหมือนจะไม่กล้าเผยความจริง ผู้คนไม่ยอมรับ จึงออกมาในรูปของนิทานและตำนาน มันมีความจริงที่เคลือบความน่าสงสัยไว้ โดยเฉพาะต้นกำเนิดของการผ่าตัดคลอดก็ถูกบันทึกเพี้ยนไปตามกาลเวลา มีความเชื่อว่าจูเลียส ซีซาร์ก็เคยได้รับการช่วยเหลือ โดยเขาถูกผ่าออกมาจากท้องมารดา แม่ของเขาเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง และยุคนั้นคงมีความสำคัญกับประเทศมาก

                เวลานั้นขั้นตอนการดำเนินการผ่านั้น ต้องเลือกเอาว่าจะช่วยทารกแล้วเสียแม่ หรือช่วยแม่แล้วผ่าเอาทารกออกมา แต่ต้องผ่าตอนแม่มีชีวิตอยู่ เอาทารกออกมาแม่ก็ตาย เพราะไม่มีขั้นตอนในการรักษาชีวิตได้ มุ่งเน้นไปในการเพิ่มคน ต่อมาจึงมีกฎหมายโรมัน ภายใต้จูเลียส ซีซาร์สั่งว่า ผู้หญิงทุกคนที่มีโชคชะตาถูกกำหนดแล้ว จะต้องผ่าตัดเปิดท้องช่วยทารก นี่อาจเป็นที่มาของศัพท์ทางการแพทย์ซีซาร์

                ต้นกำเนิดในภาษาลาตินที่เป็นไปได้ ได้แก่คำกริยา “caedare” หมายถึงการตัด และคำว่า “caesones” ที่ใช้กับทารกที่เกิดจากการดำเนินการชันสูตรศพ แต่เราก็ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าจะได้รับการผ่าตัดคลอดหรือไม่

                จนกระทั่งช่วงศตวรรษที่ 16-17 การผ่าตัดคลอดจึงเป็นที่รู้จักกัน และเริ่มเปลี่ยนไปพัฒนา ดูได้จากการเอกสารต่างๆ ในปี ค.ศ. 1598 จากหนังสือเกี่ยวกับการผดุงครรภ์ ในช่วงการผ่าตัดคลอดมีความหมายที่แตกต่างกันกับสตรีที่ตั้งครรภ์เหมือนกัน แต่แตกต่างกันในช่วงเวลาสำคัญคือตอนคลอด บางคนคลอดปกติ แต่บางคนคลอดไม่ได้ สมัยก่อนเขาถึงว่า สตรีที่ตั้งครรภ์มีโอกาสเยือนประตูนรกกว่าครึ่ง

                กล่าวได้ว่า มีการอ้างอิงถึงการผ่าตัดที่ค่อนข้างพบยากในผู้หญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่จุดประสงค์เบื้องต้นก็เพื่อดึงทารกออกจากแม่ที่ตายหรือกำลังจะตาย สิ่งนี้ดำเนินการด้วยความหวังในการช่วยชีวิตเด็กทารก หรือตามที่นักวิชาการศาสนากำหนด หมายถึงถ้ามีสตรีตั้งครรภ์คลอดบุตรไม่ได้แล้วเสียชีวิต เขาจะทำการผ่าท้องเอาทารกออกมา ทำการแยกฝัง จริงๆ แล้วทางการแพทย์มุ่งหวังตั้งใจจะรักษาชีวิตของแม่และลูกให้ได้มากที่สุด แต่ก็มีที่ลูกตายในท้อง ก็ต้องทำการช่วยแม่ให้รอดก่อน

                จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 มีความเป็นไปได้ และทำให้แพทย์เริ่มเข้าใจ ช่วงต้นๆ มีรายงานเกี่ยวกับความพยายามอย่างกล้าหาญเพื่อช่วยชีวิตสตรีให้มีชีวิตอยู่ต่อ ไม่ใช่แม่ต้องตายเหมือนสมัยก่อนทุกครั้งไป อย่างในยุคกลางถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาของความซบเซาในวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เรื่องราวบางส่วนของการผ่าตัดคลอดช่วยในการพัฒนา และรักษาความหวังว่าเมื่อทำแล้วจะประสบความสำเร็จในที่สุด

                บางทีบันทึกแรกที่เรามีเกี่ยวกับแม่และลูกที่รอดชีวิตจากการผ่าตัดคลอดมาจากสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ.1500 เมื่อ จาค็อบ นูเฟอร์ คนฆ่าหมูดำเนินการผ่าตัดภรรยาของเขา หลังจากผ่านไปหลายวันในการทำคลอด และได้รับการดูแลช่วยเหลือจากนางผดุงครรภ์ถึง 13 คนแล้วก็ยังไม่สามารถคลอดลูกได้

                ในที่สุด สามีที่หมดหวังของเธอก็ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อทำการผ่าตัดคลอด ครั้งนั้นบันทึกบอกว่าแม่มีชีวิตอยู่ และให้กำเนิดลูกห้าคนตามปกติ รวมทั้งลูกแฝดทารกที่ผ่าตัดคลอด แม่มีอายุอยู่ถึง 77 ปี เนื่องจากเรื่องนี้ไม่ได้ถูกบันทึกไว้จนกระทั่ง 82 ปีต่อมา นักประวัติศาสตร์ตั้งคำถามถึงความถูกต้อง ความสงสัยที่คล้ายกัน อาจถูกนำไปใช้กับการรายงานการคลอดในช่องท้องอื่นๆ คือไม่ได้ผ่าที่หน้าท้อง ประวัติความเป็นมาของการผ่าตัดคลอดยากที่จะเปิดเผยให้รู้ได้

                ในบันทึกของจีนมีการผ่าท้องคลอดแล้ว โดยหมอฮูโต๋ ได้ทำการวางยาสลบและฝังเข็มร่วมในการผ่าตัด เขาทำสำเร็จปลอดภัยทั้งแม่และลูก นับว่ามีความเก่าแก่นานกว่า 3,000 ปี น่าจะตรงกับสมัยกรีก-โรมัน แต่เสียดายที่ขั้นตอนการปฏิบัติได้สูญหายถูกทำลายเสียก่อน

                ความรู้ทางการแพทย์ตรงนี้เป็นที่น่าสนใจและศึกษามาก เคยได้ยินว่าหมอศัลยแพทย์เก่งๆ กว่าจะดังในประวัติศาสตร์ มักมาจากพวกนายพรานคนฆ่าสัตว์ที่มีความรู้เรื่องการกรีดมีด รู้ตำแหน่งความลึกของชั้นเนื้อ และจุดที่จะรอดที่สุดอีกด้วย เรียกว่ารู้กายวิภาค รวมถึงพวกหมอชันสูตรที่ถือว่ามีฝีมือได้อีกคนหนึ่ง จึงทำให้ประวัติศาสตร์การคลอดและการแพทย์ทั่วไปเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

                การผ่าตัดคลอดที่ประสบความสำเร็จเร็วที่สุดหลายครั้งเกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทห่างไกลที่ขาดบุคลากรทางการแพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวก ในกรณีที่ไม่มีชุมชนทางการแพทย์ที่เข้มแข็ง สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหมายความว่าการผ่าตัดคลอดสามารถดำเนินการในระยะก่อนหน้านี้ ในกรณีที่แม่ยังไม่ตาย และทารกอ่อนแออาจไม่รอด เมื่อเจอเหตุการณ์นี้สามารถผ่าทำคลอดช่วยชีวิตทารกให้รอดก่อนได้ อย่างน้อยอาจช่วยได้หนึ่งชีวิต หรือถ้าแย่มากก็คือไม่รอดทั้งแม่และลูก แต่ส่วนใหญ่แม่จะเสียชีวิต เพราะสถานที่ทำนั้นอยู่ห่างไกลจากสถานพยาบาลและความสะอาดต่างๆ

                ในช่วงศตวรรษที่16 -17 มีการขยายตัวของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงกายวิภาคของมนุษย์ในรายละเอียด ข้อความกายวิภาคทั่วไปอันน่าทึ่งของ Andreas Vesalius ยกตัวอย่างเช่น De humani corporis fabrica libri septem ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1543 แสดงให้เห็นอวัยวะเพศหญิงและโครงสร้างช่องท้องปกติ

 ในศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 นักกายวิภาคศาสตร์และศัลยแพทย์ได้ขยายความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคปกติ และพยาธิสภาพของร่างกายมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงปลายทศวรรษ 1,800 การเข้าถึงศพมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงที่เน้นด้านการศึกษาทางการแพทย์ ทำให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้กายวิภาคผ่านการผ่าส่วนบุคคล ประสบการณ์เชิงปฏิบัตินี้ช่วยพัฒนาความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้พวกเขาดำเนินการได้ดีขึ้น

                ในเวลานั้นการศึกษาด้านการแพทย์รูปแบบใหม่นี้ยังคงมีให้สำหรับผู้ชายเท่านั้น ด้วยการรวบรวมเรื่องแรงโน้มถ่วง ตั้งแต่ศตวรรษที่17 พวกผู้หญิงก็ถูกลดระดับในเวทีการคลอด ในช่วงต้นทศวรรษ 1600 กลุ่ม Chamberlen ในอังกฤษได้แนะนำคีมเพื่อให้สูติศาสตร์ดึงตัวอ่อนในช่องคลอดออกมา ซึ่งอาจถูกทำลายได้ พวกผู้ชายอ้างถึงความมีอำนาจเหนืออุปกรณ์ และมีการควบคุมอาชีพเกี่ยวกับการคลอดบุตรไว้ในบุรุษเท่านั้น ในอีก 3 ศตวรรษถัดไป ชายผดุงครรภ์และสูตินรีแพทย์จะต่อสู้กันเพื่อแย่งและลดบทบาทหน้าที่ของพยาบาลผดุงครรภ์

                อาจารย์หมอใหญ่แห่งประวัติศาสตร์

                เขาคือ ดอกเตอร์กาเลน นายแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของอาณาจักรโรมัน เป็นนายแพทย์ให้แก่จักรพรรดิโรมันถึงสี่พระองค์ด้วยกัน หากเขาปฏิบัติวิชาชีพด้วยความผิดพลาด หน้าประวัติศาสตร์โรมันก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เขาเป็นนายแพทย์ที่ดูแลบาดแผลให้แก่บรรดาเกลดิเอเตอร์ที่เกิดจากคมดาบ คมหอก และฟันที่แหลมคมของสัตว์ป่าที่ดุร้าย เขาได้เรียนรู้สรีระของมนุษย์ด้วยการศึกษาข้อมูลจากหมูและลิง เขายังประดิษฐ์และบันทึกเกี่ยวกับศาสตร์ทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก

                บางส่วนของสิ่งประดิษฐ์และศาสตร์เหล่านั้นยังคงถูกนำมาใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ เขาเป็นนายแพทย์ที่สร้างทฤษฎีที่มีความแม่นยำมาก แนวคิดทางการแพทย์ของเขาจึงถูกนำมาสอนและได้รับการปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องยาวนานเกือบ 1,500 ปี เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.129 (หรือ 130) ในเมืองเปอร์เกมัม (พูร์-กัม-อัม) ของกรีก ยุคนั้นชาวกรีกจะมีเพียงชื่อเดียว แต่ชาวโรมันมีชื่อยาว

                เมื่อราว 250 ปีก่อนกาเลนจะเกิด ผู้ปกครองคนสุดท้ายของเมืองเปอร์เกมัมได้มอบเมืองที่เป็นรัฐอิสระของกรีกให้แก่กรุงโรม โดยมีเงื่อนไขว่ากรุงโรมจะต้องคุ้มครองอิสรภาพของชาวเมือง แต่สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ยังคงมองว่าเมืองเปอร์เกมัมเป็นรัฐอิสระรัฐหนึ่งของอาณาจักรกรีก

                ดูจากภาพวาด การผ่าท้องคลอดมีแบบผ่าด้านข้างที่แม่จะปลอดภัยมากกว่าด้านหน้า แต่อย่างไรก็น่าหวาดกลัวสำหรับคนเป็นแม่จริงๆ ที่ทั้งอุ้มท้องและเสี่ยงตาย ลูกๆ ควรกตัญญูต่อท่านให้มากนะครับ

/

เรื่องโดย. กรุเก่า

ภาพโดย. กรุเก่า, volunteermidwiferyhellas.blogspot.com


แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •