26 เมษายน 2024
แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ในค่ำคืนที่เหน็บหนาวเต็มไปด้วยความมืดแห่งราตรีและหมู่ดาว ว่ากันว่าคนที่ได้มีโอกาสเต้นรำอยู่ใต้ท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวนับล้านๆ ดวงนั้น จะประสบแต่โชคดี และมีชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข

อย่างที่บอกแล้วว่า ในเขตเมืองผิงตงนั้น ประชากรที่อาศัยอยู่ในแถบถิ่นนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นชนเผ่าที่เป็นเจ้าของแผ่นดินเดิมของเกาะไต้หวัน ซึ่งพวกเขาอยู่อาศัยมานาน นับตั้งแต่วันแรกที่เกาะนี้ถูกค้นพบ เพื่อรำลึกถึงชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณต๋าโก่ว โดยเฉพาะ “ชนเผ่าม๋าข่าเต้า” รัฐบาลเมืองเกาสง จึงได้เปลี่ยนชื่อถนนให้เป็นถนนม๋าข่าเต้า

เผ่าม๋าข่าเต้าเป็นเผ่าที่แยกออกจากเผ่าผิงผู่ และเผ่าซีลาหย่าซึ่งอาศัยอยู่บริเวณเมืองเกาสงและชนบทผิงตงในปัจจุบัน เผ่าม๋าข่าเต้าที่เขตผิงตงส่วนใหญ่อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน ตามเมืองผิงตงในปัจจุบัน (บ้านอาโกว) อำเภอวั่นตัน (บ้านซั่งตั้นสุ่ย บ้านเซี่ยตั้นสุ่ย) อำเภอหลินเปียน (บ้านฟั่งสว่อ บ้านเจียเถิง) อำเภอคานติ่ง (บ้านลี่ลี่) อำเภอหลี่กั่ง (บ้านถ่าโหล บ้านอู่ลั่ว) ในสมัยราชวงศ์ชิง พื้นที่บริเวณนี้อยู่ในการปกครองของมณฑลฟ่งซัน ปัจจุบันจึงได้ชื่อว่าเป็นฟ่งซัน 8 หมู่บ้าน เทศกาลบูชาราตรีที่มีชื่อเสียงจะจัดขึ้นที่บ้านเจียนน่าผู่ ที่อำเภอเกาซู่ โดยเชื่อว่าเป็นหมู่บ้านหนึ่งในฟ่งซัน 8 หมู่บ้าน ส่วนเจียเผาหลั่งของหมู่บ้านเจียเหอ ในอำเภอวั่นหลวนก็เป็นหมู่บ้านหนึ่งในฟ่งซัน 8 หมู่บ้านด้วยเช่นกัน

เมื่อปี 1885 ไต้หวันอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิง และได้แยกตัวออกจากมณฑลฝูเจี้ยน กลายเป็นอีกมณฑลหนึ่ง ทำให้เกิดความตั้งใจในการปกครองไต้หวัน เนื่องจาก 11 ปีก่อนหน้านั้น เมื่อปี 1874 ที่เหิงชุนเกิดเหตุการณ์บ้านหมู่ตัน ที่เมืองเหิงชุนขึ้น ทำให้จักรพรรดิเกิดความตั้งใจในการก่อสร้างให้เกาะไต้หวันกลายเป็นป้อมปราการทางยุทธทหาร

หลังจากนั้นไม่นาน ผู้ว่าราชการมณฑลไต้หวัน นายหลิว หมิงฉวน ก็ได้เริ่มบังคับใช้นโยบาย “ฮว่าฟัน” หรือการเก็บส่วยจากชนเผ่าต่างๆ ภายหลังจากที่ได้ใช้นโยบายฮว่าฟันครบร้อยปี ในปี 1788 ทุกคนก็กลายเป็นประชาชนทั่วไป การเก็บส่วยจากชาวเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณริมถนนตามเขาชนบทผิงตงก็มลายหายไปในชั่วข้ามคืน ดังนั้น หัวหน้าเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เหิงชุนจะต้องเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “โถวเหยิน” หรือ “เซ่อจ่าง” แม้แต่หัวหน้าเผ่าตระกูลพานเหวินเจี๋ย ที่ปกครองหมู่บ้านหลังเฉียวทั้ง 18 หมู่บ้านก็จะต้องเปลี่ยนชื่อเรียกจากหัวหน้าเผ่าเป็น “โถวเหยิน”

ในแวดวงวิชาการไต้หวัน เชื่อว่าชาวเผ่าที่ชำระส่วยเป็นชาวผิงผู่ จากสถิติการบันทึกข้อมูลประชากรของชนชาวเผ่าผิงผู่พบว่า เริ่มต้นขึ้นในสมัยที่ถูกญี่ปุ่นปกครองเมื่อปี 1898 ในเวลานั้นมีการจัดตั้ง “หน่วยสำรวจที่ดินเฉพาะกิจ” ขึ้น โดยมีการสำรวจที่ดินและบันทึกสถิติประชากรไปพร้อมกัน ไต้หวันในขณะนั้น เขาจะแบ่งประเภทของประชากรที่อาศัยอยู่บนเขาออกเป็น 3 ประเภท คือ หมิ่น กว่าง โสว (หมายถึงโสวฟันหรือชาวเผาผิงผู้ที่ถูกเก็บส่วย) และแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตการปกครองตามหมู่บ้าน ตำบล เพื่อจัดทำแผนที่ทางภูมิศาสตร์ของไต้หวัน เมื่อดูจากแผนที่ที่เขียนขึ้นในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองพบว่า เมื่อปี 1990 พื้นที่ติดทะเลและที่ราบส่วนใหญ่บุกเบิกโดยชาวหมิ่นและชาวแคระ ชนเผ่าต่างๆ จึงต้องไปอาศัยอยู่ใกล้กับภูเขาซึ่งตรงกับข้อมูลที่ตั้งชนเผ่าในสมัยราชวงศ์ชิงด้วยเช่นกัน โดยชาวเขาที่ชำระส่วยในขณะนั้นอยู่บริเวณเจียน่าผู่ฟัน อำเภอเกาซู่ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือ แล้วทอดยาวไปทางเขาต้าอู่ทางใต้ ผ่านเขาเกาหลั่งหลั่ง ซินอ้ายเหลียว ฟันจ่ายชู่ เหล่าเปย เขาวั่นจินชื่อ จนถึงแถบหมู่บ้านซินไค บริเวณอำเภอฝั่งเหลียวในปัจจุบัน

เทศกาลบูชาราตรี

ส่วนบริเวณเหิงชุนก็พบร่องรอยของชาวเผ่าผิงผู่ด้วยเช่นกัน หากต้องการทราบว่าชนบทผิงตงมีชาวเผ่าผิงผู่อยู่เท่าไรนั้น ทางการไม่มีการบันทึกข้อมูลเอาไว้ สาเหตุเพราะแม้ว่ารัฐบาลท้องถิ่นจะยอมรับการมีอยู่ของชนเผ่าผิงผู่ที่แยกออกจากชนเผ่าซีลาถู แต่รัฐบาลกลางก็ยังไม่ยอมรับการบันทึกให้ชนเผ่าผิงผู่เป็นชนเผ่าหนึ่งของไต้หวัน ทำให้การบันทึกข้อมูลประชากรเป็นไปด้วยความยากลำบาก

เทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวผิงผู่ คือเทศกาลบูชาราตรี ของเซ่นไหว้ที่สำคัญที่สุดคือหมาก เพราะหมากเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการจัดพิธีแต่งงานของชาวผิงผู่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า หมากเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของชาวผิงผู่ การบูชาเทพเจ้าในศาลเจ้าและวัดต้องถวายหมาก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ชาวเผ่าผิงผู่ปฏิบัติสืบต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เทศกาลบูชาราตรี เป็นเทศกาลที่บูชาเทพอาลี่ โดยมีอังอี๋ทำหน้าที่เป็นประธานในพิธีอังอี๋ของชนเผ่าผิงผู่ เปรียบเหมือนกับบาทหลวงของศาสนาคริสต์ และเหมือนกับร่างทรงของชาวหมิ่นหนัน ทำหน้าที่ถ่ายทอดเจตนารมณ์ของเทพเจ้า ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก โดยห้ามมีการลบหลู่อย่างเด็ดขาด เทศกาลบูชาราตรีอันเลื่องชื่อของผิงผู่จะเป็นของใครไปไม่ได้ นอกจากเผ่าเจียน่าผู่ ที่อำเภอเกาซู่ ซึ่งเจียน่าผู่และหมู่บ้านเสี่ยวหลินของเกาสงถูกคั่นกลางด้วยแม่น้ำเกาผิง เทศกาลบูชาราตรีของทั้งสองแห่งนี้ต่างมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้กัน

เทศกาลบูชาราตรีของเจียน่าผู่เริ่มต้นขึ้นทุกวันที่ 15 พฤศจิกายน ตามปฏิทินจีน กิจกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในเทศกาลบูชาราตรีคือ “การเต้นรำ” ภายในงานผู้คนจะล้อมต้นไม้หน้าวัดเอาไว้เป็นวงกลมแล้วเต้นไปตามจังหวะเสียงเพลงที่ทุ้มต่ำของเพลงพื้นเมืองชาวผิงผู่ โดยมีนักท่องเที่ยวจากต่างแดนเข้ามาชมความพิเศษของงานที่ปกคลุมไปด้วยบรรยากาศของความเงียบที่ประดับด้วยความครื้นเครง

เรื่องโดย. ตะวัน สัญจร


แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •