วิหารนี้ สร้างในศตวรรษที่ 15 โดยพระนิกายฟรานซิสกัน ที่ประหลาดพิสดาร คือ ผนังภายในวิหารนี้ สร้างขึ้นจากกระดูกของมนุษย์กว่า 5,000 คน เท่านั้นไม่พอ ยังมีซากศพ 2 ร่าง ห้อยแขวนติดผนังด้านหนึ่งด้วย
ตํานานวัดระบุว่า ครั้งกระโน้นมีสตรีนางหนึ่ง ซึ่งยึดมั่นในคาทอลิก แต่ได้ถูกสามีผู้โมโหร้ายกับลูกชายของเธอเอง ช่วยกันโบยตีจนตาย ก่อนสิ้นชีวิต เธอได้สาปให้วิญญาณของเขาทั้งสองลงนรก แม้แต่พื้นพสุธาก็จะไม่ยินดีรับร่างของเขาไว้ ไม่นานนัก ชายทั้งสองก็ถึงแก่มรณกรรม ชาวเมืองพยายามขุดหลุมฝังศพของเขา แต่ขุดลงไปที่ใดก็เจอแต่หิน เมื่อจนปัญญาพวกเขาจึงนําเอาซากศพทั้งสองขึ้นไปห้อยแขวนไว้กับผนังวิหารดังกล่าว สําหรับให้นักบวชได้ใช้ปลง ในระหว่างทําสมาธิก็นับเป็นคําสาปที่ขลังยิ่ง
วิหารกระดูกแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองอีโวรา (Evora) ประเทศโปรตุเกส ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 โดยพระในนิกายฟรังซิสกัน ซึ่งเป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิก ที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1228 ฝาผนังตามคานของวิหารแห่งนี้ ถูกประดับและสร้างขึ้นมาจากกระดูกของมนุษย์กว่า 5,000 คน ในวิหารนั้นยังมีโครงกระดูกมนุษย์ 2 ร่าง แขวนห้อยอยู่ตรงฝาผนังของห้องข้างหนึ่งด้วย
โดยตำนานมีการเล่าเรียงกันมาว่า ในอดีตมีสตรีผู้หนึ่งซึ่งเคร่งครัด ยึดมั่นในหลักศาสนาของคาทอลิก แต่ถึงกระนั้น นางได้ถูกสามีผู้แสนร้ายกาจ กับลูกชายทำทารุณกรรมต่อเธอ ด้วยการเฆี่ยนตีจนตาย ก่อนจะตาย เธอได้ลั่นวาจาสาปแช่งพวกเขาไว้ว่า เมื่อเขาทั้งคู่ตายลงไป ขอให้วิญญาณของเขาทั้งสองจงตกลงไปอยู่ในนรก แม้แต่พื้นพสุธาก็ไม่ยอมรับ ไม่ยินดีรับร่างของพวกเขา ต่อมา อีกไม่นานนักทั้งสองพ่อลูกก็ตายลงไป ชาวบ้านชาวเมืองที่นั่นพยายามจะขุดหลุมเพื่อฝังเขา แต่ขุดไปที่ไหนก็เจอแต่หินและหิน ทำให้ชาวบ้านทั้งหลายจนปัญญา พวกเขาเลยตัดสินใจนำซากศพทั้งสองร่างไปห้อยแขวนไว้บนฝาผนังของวิหารดังกล่าวไว้ และให้เป็นที่สำหรับให้นักบวชไว้ใช้ปลงในระหว่างทำสมาธิ
คำสาปนี้ เป็นที่น่าขนลุกเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดอย่าคิดกระทำชั่วต่อผู้อื่นระวังจะเจอคำสาปแช่ง เมืองอีโวรานี้ อยู่ในแคว้นอเลนตีโจของโปรตุเกส อยู่กลางท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ ด้านเหนือติดกับแม่น้ำทากุส ด้านใต้ติดกับเขตพื้นที่อัลการ์ฟ ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากกรุงลิสบอนนครหลวงของโปรตุเกส 140 กิโลเมตร ห่างจากเมืองบาดาฮอส หัวเมืองชายแดนสเปน 80 กิโลเมตร
อีโวรา ประกอบด้วยเขตศาสนจักรหลายเขต อาทิเช่น เขตเซา มาเมเด เขตเซ เซาเปโดร เขตซานโต อันตาโอ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองเก่าในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีเขตศาสนจักรที่อยู่นอกกำแพงเมืองเก่าอีกหลายแห่ง แต่เป็นพื้นที่ซึ่งมีพลเมืองหนาแน่นมาก อาทิ เช่น เขตศาสนจักรบาเซโล อี เซนยอร่า ดาเซาเด กับศาสนจักรมาลาเกอร่า อี ฮอร์ต้า ดาสฟิกเกอราส นอกจากนี้ยังมีเขตศาสนจักรอีกมากมายหลายแห่ง ซึ่งอยู่ชานเมืองและอยู่นอกเขตเทศบาล และไม่จัดเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอย่างเป็นทางการ ส่วนเขตเมืองเก่าซึ่งจัดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์นั้น มีพื้นที่ 1.05 ตารางกิโลเมตร และมีโบราณสถานประมาณ 4,000 แห่ง
สำหรับดินฟ้าอากาศที่เมืองนี้ แม้จะจัดเป็นภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน แต่ก็จัดอยู่ในประเภทสุดโหด เนื่องจากในหน้าร้อน อากาศค่อนข้างร้อนประมาณ 30 องศา เขตมีอากาศร้อนสุดขีดถึง 46 องศาเซนติเกรด ส่วนฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็น มีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศา และเคยหนาวจัดถึงลบ 10 องศาเซนติเกรด มีหิมะตกปีละสองครั้ง
เขตปกครองของเมืองอีโวรา มีพื้นที่ 1,307.08 ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองทั้งสิ้น 56,596 คน มีเขตศาสนจักร 12 เขต
โดยที่เขตเมืองเก่าจะยังคงมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบ โบราณสถานต่างๆ จึงยังอยู่ในสภาพดีมาก จนได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดอันดับสองของโปรตุเกส
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองอีโวรานั้นน่าสนใจมาก เพราะเป็นเมืองที่สร้างมายาวนาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก โดยสามารถแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ได้ถึงห้ายุค ดังนี้ คือ
ยุคดึกดำบรรพ์
เมืองอีโวรา มีอายุยาวนานถึงห้าสหัสวรรษ หรือห้าพันปี เมื่อแรกสร้างใช้ชื่อเมืองว่า อิโบร่า โดยชาวเซลติกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของตน
ยุคภายใต้การปกครองของโรมัน
ในปีที่ 57 ก่อนคริสตศักราช กองทัพโรมันสามารถยึดเมืองนี้ได้ และทำการสร้างกำแพงเมือง ตลอดจนอาคารสถานที่ต่างๆ ขึ้นภายในเมือง ซึ่งยังมีซากปรักหักพังหลงเหลืออยู่ รวมทั้งสถานที่อาบน้ำสาธารณะเหลือให้เห็นอยู่ นับจากนั้นมา เมืองอีโวราเริ่มทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากได้กลายเป็นชุมทางเส้นทางสัญจรสายสำคัญๆ หลายสาย นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ผลิตข้าวสาลีอันอุดมสมบูรณ์อีกด้วย ซึ่งส่งให้เมืองอีโวราผงาดขึ้นติดอันดับหนึ่งในบรรดาหัวเมืองชั้นแนวหน้าของจักรวรรดิโรมันด้วย ดังจะเห็นได้จากการมีชื่อปรากฏในจารึกต่างๆ และในเหรียญของโรมันด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างอนุสรณ์สถานวิหารคอรินเทียนขึ้นที่ใจกลางเมืองอีโวราด้วยในช่วงศตวรรษที่หนึ่ง เพื่ออุทิศแก่จักรพรรดิออกุสตุส ในศตวรรษที่สี่ เมืองอีโวรา เริ่มมีบิชอปของตนเองแล้ว
ในยุคที่คนเถื่อนกำลังอาละวาดหนัก เมืองอีโวราอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าลีโอวิกิลด์ กษัตริย์วิสิโกธิค ในช่วงปี ค.ศ. 584 ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “นคราอาราม” หมายถึงเมืองที่อุดมไปด้วยศาสนสถาน ถึงกระนั้นก็ตาม นับจากนั้นมา เมืองอีโวราก็เริ่มโรยราลงตามลำดับ ไม่มีโบราณวัตถุของยุคนี้หลงเหลืออยู่มากนัก
ยุคภายใต้การปกครองของพวกมัวร์
ในปี ค.ศ. 715 เมืองอีโวราตกอยู่ภายใต้การยึดครองของพวกมัวร์ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองยาบุเราะห์ ในช่วงที่อยู่ภายใต้การยึดครองของพวกมัวร์ ระหว่างปี 715-1165 นั้น เมืองอีโวราก็เริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีก และกลายเป็นศูนย์กลางการเกษตรกรรม มีการสร้างป้อมปราการ และมัสยิดขึ้นจำนวนมาก
ยุคแห่งการกลับมาพิชิต
เมืองอีโวราถูกยึดคืนมาจากพวกมัวร์ จากการบุกโจมตีแบบสายฟ้าแลบของกองทัพ ”แม่ทัพเจอรัล-ผู้กล้า” ในเดือนตุลาคม 1165 ทำให้เมืองอิโวร่ากลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้า อัลฟองโซ กษัตริย์โปรตุเกสอีกครั้งหนึ่ง นับจากนั้นมา เมืองอิโวร่าก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเมืองแห่งพลวัตรของราชอาณาจักรโปรตุเกสในยุคกลาง โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 15 มีการย้ายราชสำนักของราชวงศ์ที่หนึ่งและที่สอง มาตั้งที่เมืองนี้คราวละนานๆ ถึงกับมีการสร้างพระราชวังและศาสนสถานอนุสรณ์สถานต่างๆ ขึ้นจำนวนมาก
ในช่วงเวลานั้น มีการประกอบพระราชพิธีอภิเษกของเจ้านายในราชวงศ์หลายครั้ง และมีการตัดสินใจราชการงานเมืองสำคัญๆ ขึ้นที่นี่หลายครั้ง ต่อมาเมืองอีโวราได้กลายเป็นเมืองหลักในการควบคุมทาสส่วนใหญ่ จนมีคำกล่าวว่า เมื่อเข้ามาในเมืองนี้ รู้สึกไม่ผิดกับการพลัดหลงเข้ามาในใจกลางขุมนรก เนื่องจากมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่มนุษย์ตัวดำๆ ทั้งนั้น
ต่อมา ในศตวรรษที่ 19 เมืองอีโวราเริ่มลดความสำคัญในด้านการเป็นขุมพลังแห่งชาติลงจากการเกิดสงคราม ”สองพี่น้อง” ขึ้น
สถานการณ์เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ในราชวงศ์เอวิส (1385-1580) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระเจ้ามานูเอลที่ 1 และพระเจ้าจอห์นที่ 3
ต่อมา ในปี ค.ศ. 1540 เมืองอีโวรากลายเป็นสำนักของประมุขแห่งอาร์คบิชอป และกลุ่มนักบวช เจซูอิท ได้สร้างมหาวิทยาลัยขึ้นที่นี่ ในปี 1559 และมีบุคคลสำคัญๆ มาช่วยสอน อาทิเช่น เฟลมมิส ปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุโรป มีนักมนุษยวิทยาชั้นนำอย่างนิโคลาส เคลย์นาเอิร์ท และโจฮานเนส วาสอุส รวมทั้งนักเทววิทยาชื่อดังอย่างหลุยส์ เพอ โมลิน่า มาช่วยถ่ายเทความรู้ทางวิทยาการให้แก่นักศึกษาด้วย
หากทว่าทั้งหมดนั้น ถูกขับออกจากโปรตุเกสและมหาวิทยาลัยถูกปิดในปี 1759 โดยมาร์ควิสปอมบาล เป็นเหตุให้เมืองอิโวร่ากลับมาซบเซาอีกครั้ง แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะกลับมาเปิดใหม่อีกครั้งในปี 1973 ก็ตาม
ต่อมาได้เกิดการสู้รบครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองอีโวรา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 1808 ระหว่างที่เกิด ”สงครามเพนนิซูล่า” ขึ้น โดยกองกำลังผสมโปรตุเกส-สเปน จำนวน 2,500 นาย ร่วมกับกองกำลังนักรบอาสา และชาวนายากจน ที่พยายามต้านทานการบุกของกองพลผสมสเปน-ฝรั่งเศส ที่นำทัพโดยแม่ทัพหลุยส์ อองรี โล-อิ-สัน แต่ก็ถูกตีแตกพ่ายไป ทำให้ทัพผสมสเปน-ฝรั่งเศส สามารถบุกตีกระหน่ำเมืองอิโวร่า ยังผลให้เกิดการเสียชีวิตของทหารและพลเรือนชาวเมืองถึง 8,000 คน ในขณะที่กองพลผสมสเปน-ฝรั่งเศส เสียรี้พลไปเพียง 290 นาย
ในปี 1834 เมืองอีโวราได้ถูกเลือกให้เป็นสถานที่ประกาศการยอมจำนนของกษัตริย์
มิเกล ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่าสงคราม “ลิเบอร์รัล วอร์” ได้ยุติลงแล้ว
การที่บรรดาศิลปินชั้นนำต่างได้สร้างอนุสรณ์สถานต่างๆ ขึ้นในเมืองอีโวราจำนวนมาก ในแต่ละยุคแต่ละสมัย เป็นเครื่องผลักดันให้เมืองอีโวรา เป็นเมืองที่ศิลปะและวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวาควรค่าแก่การเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมหลากหลาย อาทิ สถาปัตยกรรมแบบโรมัน แบบโกธิค แบบเรอเนซองส์ และแบบบาโรก เป็นต้น มีโบราณสถานสำคัญ เช่น พระราชวังโบราณ จัตุรัสที่ซับซ้อนหลากหลายรูปแบบ ที่งดงามตระการตาในเมือง
ตลอดจนรูปแบบการตัดถนนแคบๆ ที่ตัดผ่านใจกลางเมือง และตัดผ่านเข้าไปทุกพื้นที่ อุดมไปด้วยสมบัติทางวัฒนธรรมในเมือง ทำให้เมืองอีโวรา คู่ควรกับคำว่าเมืองพิพิธภัณฑ์อย่างไม่มีที่ติ