27 กรกฎาคม 2024
แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

            ชนเผ่าชาง (Changs) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์นาคาที่อาศัยอยู่ในรัฐนากาแลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย พวกเขายังเป็นที่รู้จักในชื่อ “มาซุง Mazung” ในบริติชอินเดีย กลุ่มชาติพันธุ์นาคาอื่นๆ รู้จักชาวชางด้วยชื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่ชางไห่ (Khiamniungan) ชางรู (Yimkhiung) เดือนชิง (Duenching) มาชุงเร (OA) โมชุมิ (Sümi) และโมจุง ( Mojung)

            ตามประเพณีปากเปล่า ชาวชางมาจากสถานที่ที่เรียกว่าชางสังมงโก และต่อมาได้ตั้งรกรากที่ชางสัง กล่าวกันว่าคำว่าชางมาจากคำว่า chognu ที่แปลว่า “ต้นไทร” ตามชื่อต้นไทรในตำนานที่เติบโตในชางสังที่ถูกทิ้งร้างในปัจจุบัน

            ในอีกข้อมูลหนึ่งกล่าวว่า ชาวชางอพยพมาจากทิศตะวันออกไปยังนากาแลนด์ในปัจจุบัน จึงเรียกตนเองว่าชาง (“ตะวันออก” ในภาษาท้องถิ่น)

            ชาวชางบางคนยังอ้างว่า ชนเผ่าอาว (Aos) เป็นบรรพบุรุษของพวกเขา ด้วยนิทานพื้นบ้านชางมีความคล้ายคลึงกับเรื่องของชาวอาว

            อาณาเขตดั้งเดิมของชนเผ่าชางตั้งอยู่ในอำเภอถุนแสง ตอนกลาง หมู่บ้านหลักของพวกเขาคือ โมซุงจามี (Mozungjami) ในถุนสัง (Tuensang) จากนั้นพวกเขาก็ขยายไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ในดินแดนที่ห่างไกลทางดินแดนของนาคาตอนเหนือ

            ตามตำนานชนเผ่าชางเล่าว่า บรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์ป่า ซึ่งบางชนิดมีสถานะเป็นวิญญาณประจำเผ่า ตระกูลอองถือว่า “เสือ” เป็นวิญญาณของตระกูลพวกตน ในขณะที่ตระกูลอื่นๆ ถือว่าแมวและนกป่า (กาและนกอินทรี) เป็นวิญญาณของตระกูลพวกตนเช่นกัน

            ในอดีต ชนเผ่าต่างๆ จะอาศัยในดินแดนของตน ยึดติดอยู่กับพื้นที่ที่ไม่ทับซ้อนกันภายในหมู่บ้านต่างๆ และอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง ชาวชางดั้งเดิมมีการสร้างแนวเขตดินแดนของตนและได้รับการปกป้องอย่างดีจากเหล่านักรบ นักล่าหัวมนุษย์ที่ดุดันน่ากลัว

            พูดถึงการล่าหัวมนุษย์ ชนเผ่าชางก็เหมือนกับกลุ่มชาติพันธุ์นาคาอื่นๆ ที่ฝึกฝนการล่าหัวในยุคก่อนอังกฤษจะมาถึง ผู้ที่มีจำนวนหัวที่ถูกล่ามากที่สุดจะได้รับตำแหน่งหลักโบหรือหัวหน้า ซึ่งจะเป็นผู้ระงับข้อพิพาทในหมู่บ้าน เขามีสิทธิ์ที่จะรักษาเครื่องหมายประดับพิเศษในบ้านของเขา และสวมชุดพิธีพิเศษในช่วงเทศกาลต่างๆ

            หลังจากที่ยกเลิกการล่าหัวมนุษย์แล้ว ข้อพิพาทของหมู่บ้านก็ได้รับการแก้ไขโดยสภาผู้นำหมู่บ้านที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ สภาดังกล่าวยังเลือกทุ่งสำหรับการเพาะปลูกจูมและกำหนดวันเทศกาลอีกด้วย

            ชนเผ่าชางได้สร้างแท่นที่เรียกว่า “มุลลังโชน” ขึ้นใจกลางหมู่บ้าน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นศาลสาธารณะ ตัดสินประเด็นต่างๆ เช่น การบริหารหมู่บ้าน การเพาะปลูก เทศกาล การแต่งงาน และขอบเขตที่ดิน ได้ถูกพูดคุยกัน ณ ที่ตรงนั้น

            ต่อมารัฐบาลแห่งรัฐนากาแลนด์ได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านในทุกหมู่บ้าน คณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านประกอบด้วยสมาชิก 5-6 คน รวมทั้งสมาชิกหญิงหนึ่งคน ดำเนินโครงการพัฒนาในหมู่บ้าน

            สภาหมู่บ้านตามกฎหมายประกอบด้วยผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ 6-7 คนจากกลุ่มหรือดินแดนต่างๆ (แคลน) สภานี้รักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ระงับข้อพิพาททางแพ่งตามกฎหมายดั้งเดิม จัดให้มีการจับกุมอาชญากร และบังคับใช้กฎระเบียบของรัฐบาล สภาเขตระดับสูงกว่าประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกจากสภาหมู่บ้าน สภาพื้นที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างหมู่บ้าน และดำเนินโครงการสวัสดิการ

            ล่ามอย่างเป็นทางการ (โดบาชิ) ได้รับคัดเลือกจากหมู่บ้านสำคัญๆ โดยรองผู้บัญชาการเขต โดบาชิเหล่านี้ช่วยยุติคดีเกี่ยวกับชาติพันธุ์ และกำหนดอัตราค่าปรับสำหรับบางคดี ผู้พิพากษาหมู่บ้านตามประเพณี (youkubu) ก็ช่วยแก้ไขข้อพิพาทเรื่องที่ดินด้วย

            ในปี พ.ศ. 2544 ชาวชางประมาณ 99.5% เป็นคริสเตียน อย่างไรก็ตาม เดิมทีชนเผ่าชางเป็นผู้นับถือผี พวกเขาเชื่อในความต่อเนื่องระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และพลังเหนือธรรมชาติ พวกเขาไม่บูชาเทพเจ้าประจำตระกูล เผ่า หรือหมู่บ้าน แต่พวกเขาเชื่อในวิญญาณแห่งธรรมชาติหลายชนิด เช่น น้ำ ท้องฟ้า ป่า ฯลฯ

            วิญญาณที่สำคัญที่สุดคือ “ซัมปูเลมุกขาว” หรือ “ชัมบูลีมูห์กา” ซึ่งเป็นวิญญาณแห่งทุ่งนา ตามพื้นฐานตั้งแต่โบราณแล้ว “อองโบ (Ongbou)” หรือนักบวชประจำหมู่บ้านจากตระกูล “ออง” (Ong) จะทำการบูชายัญครั้งใหญ่ในช่วงเทศกาล

            การเปลี่ยนแปลงของชาวชางที่มานับถือคริสต์ศาสนาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2479 และสมาคมแบ๊บติสต์ชางนาคาได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 เอส. อนุงลา (S. Anungla) กลายเป็นศิษยาภิบาลหญิงคนแรกที่เป็นผู้นำคริสตจักรแบ๊บติสชางในปี 2554

            ชนเผ่าชางพูดภาษาชาง ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า แต่ถึงกระนั้น ผู้คนชาวนาคาส่วนใหญ่ที่มีการศึกษาก็สามารถสื่อสารกับบุคคลภายนอกได้ด้วยการพูดภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีได้ด้วย

            หลังจากการเข้ามาของคริสต์ศาสนา ชาวชางหลายคนได้นำเสื้อผ้าสมัยใหม่มาใช้ การแต่งกายของชาวชางแบบดั้งเดิมมีลักษณะคล้ายผ้า คลุมไหล่และเครื่องประดับศีรษะที่โดดเด่น ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับชาติพันธุ์นาคากล่าวว่า

            “ผ้าคลุมไหล่ชนเผ่าชางเหนือกว่าผ้าคลุมไหล่ชาวนาคาทั้งหมดในด้านความสวยงามและลวดลายที่สะดุดตา”

            ประเพณีหรือเทศกาลที่ศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงมากที่สุดของชนเผ่าชาง คือ Naknyulüm หรือที่ชาวชางเรียกว่า “นักนึลลัม” ซึ่งจัดขึ้นประมาณเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม เป็นเทศกาล 6 วันในระหว่างที่ผู้ตายจะได้รับเกียรติและเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าหรือวิญญาณจะได้รับการปลอบใจ สักการะ ซึ่งในช่วงระหว่างนี้ห้ามมิให้มีการแต่งงานในช่วงเวลาดังกล่าว ไฟในครัวเรือนจะถูกจุดในตอนกลางคืน

            เทศกาลนี้เป็นเทศกาลประเพณีที่สำคัญของชาวชาง ตามตำนานชางกล่าวว่า สมัยก่อนผู้คนยุคโบราณจะต้องอยู่ในบ้านเป็นเวลาหกวันเนื่องจากความมืดมิดจัด ดังนั้นเทศกาลนี้จึงจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองแสงสว่างในวันที่เจ็ด โดยมีพิธีกรรมดังต่อไปนี้

            ในวันแรก สัตว์ในหมู่บ้านจะถูกฆ่าเพื่อบูชายัญและนำมาเป็นอาหาร ผู้คนในชนเผ่าทำความสะอาดหมู่บ้าน เก็บฟืนและน้ำไว้

            ในวันที่สอง (วันพระจันทร์มืด) ชนเผ่าจะแลกเปลี่ยนของขวัญและอาหาร และเล่นกีฬา ผู้หญิงเล่นเครื่องดนตรีที่เรียกว่ากงขิ่น ทางเดินและบ้านเรือนตกแต่งด้วยใบไม้ และมีไม้พุ่มที่เรียกว่า “งุนน้ำ” ปลูกไว้หน้าบ้านเพื่อปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน เมล็ดพืชที่เรียกว่าหวู่หลงจะถูกฝังอยู่ในแกลบและเผารอบๆ บ้าน เศษเมล็ดที่ระเบิดออกจากบ้านถือเป็นลางดี หากเศษชิ้นส่วนกลับมายังบ้านถือเป็นลางร้าย ผู้คนจะไม่ออกจากบ้านตอนพระอาทิตย์ตกดิน เนื่องจากเชื่อกันว่าวิญญาณของซัมบูลี (ShambuliMuhgha) จะมาเยือนหมู่บ้าน และเป็นอันตรายต่อใครก็ตามที่อยู่นอกบ้าน

            ในวันที่สาม หมู่บ้านและถนนทางเข้าจะได้รับการทำความสะอาด ต่อมาได้ทำความสะอาดเส้นทางสู่ทุ่งนาและหมู่บ้านใกล้เคียง

            พิธีกรรมและเทศกาล Naknyulem นี้ ในปัจจุบันถือว่าเป็นเทศกาลที่มีชีวิตชีวาซึ่งเฉลิมฉลองโดยชนเผ่าชางที่สนุกสนานครึกครื้นมาก จุดเด่นของเทศกาลคือเสียงอันน่าหลงใหลของ ‘กองคิม’ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีนาคาโบราณที่เล่นโดยผู้หญิงโดยเฉพาะ การเพิ่มทำนองอันไพเราะนี้ช่วยเพิ่มความลึกและจิตวิญญาณให้กับบรรยากาศของเทศกาล

            เทศกาลนี้จัดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน 2566 เขตถุนสัง (Tuensang) ทุกปี


แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •