19 เมษายน 2024
แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ดาวอังคาร ดาวเคราะห์ลำดับที่ 4 (ส่วนโลกของเราลำดับที่ 3) ช่วง 50 ปีที่ผ่านมานักวิชาการสำรวจถี่ยิบ เรียกได้ว่าส่งยานอวกาศไปมากที่สุด น่าเสียดายว่าปริศนาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารออกจะกำกวมอยู่

ผลการสำรวจดาวอังคาร ที่มีการแข่งขันหาข้อมูลกันอย่างดุเดือด ตลอดเวลาหลายสิบปีระหว่างองค์การนาซาของสหรัฐฯ และหน่วยงานด้านอวกาศของโซเวียต  ซึ่งได้มีการรวบรวมรายละเอียดผลการสำรวจขององค์การอวกาศของทั้งสองชาติ  เรียกได้ว่าค่อนข้างสมบูรณ์ และครบถ้วนเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งดังนี้

หินบะซอลต์

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน ประกอบขึ้นจากแร่ชนิดต่างๆ ที่มีซิลิกอน ออกซิเจน โลหะ ตลอดจนธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด เป็นองค์ประกอบรวมกันเข้าเป็นหิน พื้นผิวของดาวอังคารมีหินบะซอลต์ชนิดโทเลอิทิกเป็นองค์ประกอบหลัก แม้ว่าหลายส่วนเป็นหินชนิดที่มีซิลิกาสูงมากกว่าหินบะซอลต์ทั่วไป  และอาจมีความคล้ายคลึงกับหินแอนดีไซต์บนโลกหรือแก้วซิลิเกต ภูมิภาคที่มีอัตราส่วนสะท้อนต่ำ แสดงการมีเฟลด์สปาร์กลุ่มเพลจิโอเคลสหนาแน่น

ในขณะที่ภูมิภาคที่มีอัตราส่วนสะท้อนต่ำทางตอนเหนือ เผยให้เห็นการมีแผ่นซิลิเกตและแก้วชนิดที่มีซิลิกอนสูงด้วยความหนาแน่นสูงกว่าปกติ ในหลายส่วนของภูมิภาคที่ราบสูงตอนใต้ตรวจพบไพรอกซีนชนิดแคลเซียมสูงรวมอยู่เป็นปริมาณมาก นอกจากนั้นยังมีการพบฮีมาไทต์และโอลิวีนหนาแน่นในภูมิภาคจำเพาะบางแห่ง  พื้นที่ผิวส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยชั้นหนาของเม็ดฝุ่นไอเอิร์นออกไซด์ละเอียด

ในช่วงการก่อกำเนิดระบบสุริยะ ดาวอังคารได้ถือกำเนิดขึ้นจากผลของกระบวนการสะสมของมวลที่พอกพูนขึ้น แยกออกจากดาวเคราะห์ก่อนเกิด ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวอังคารจึงมีคุณลักษณะทางเคมีที่จำเพาะพิเศษหลายประการ ตามตำแหน่งในระบบสุริยะธาตุต่าง ๆ ที่มีจุดเดือดค่อนข้างต่ำ ตัวอย่างเช่น คลอรีน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน จะพบเป็นปกติบนดาวอังคารในระดับที่มากกว่าโลก เป็นไปได้ว่าธาตุเหล่านี้ถูกขับออกมาจากบริเวณใกล้ดวงอาทิตย์โดยลมสุริยะอันทรงพลังในช่วงต้นของอายุขัย

พื้นผิวบนดาวอังคาร

หลังการก่อกำเนิดดาวเคราะห์แล้ว ดาวเคราะห์ทั้งหมดล้วนเผชิญ “การระดมพุ่งชนหนักครั้งหลัง” กว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ผิวดาวอังคาร แสดงบันทึกเหตุการณ์การระดมพุ่งชนจากยุคนั้นในขณะที่เป็นไปได้ว่า พื้นที่ผิวส่วนที่เหลืออีกมาก วางตัวอยู่ภายใต้แอ่งขนาดมโหฬาร ซึ่งก็เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว มีหลักฐานของแอ่งพุ่งชนขนาดมหึมาในบริเวณซีกโลกเหนือของดาวอังคาร ซึ่งแผ่ขยายกว้างราว 8,500 กิโลเมตร และยาวร่วม 10,600 กิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่เป็นสี่เท่าของแอ่งไอต์เค็นขั้วใต้ของดวงจันทร์ ทำให้เป็นแอ่งจากการพุ่งชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบทฤษฎีนี้เสนอว่าดาวอังคารถูกพุ่งชนโดยวัตถุขนาดเท่าดาวพลูโตเมื่อประมาณสี่พันล้านปีก่อน และคาดว่าเหตุการณ์นี้เองเป็นเหตุทำให้ดาวอังคารมีซีกดาวแตกต่างกันเป็นสองลักษณะอย่างชัดเจน เกิดแอ่งบอเรียลิสอันราบเรียบปกคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 40 ทางซีกเหนือของดาวเคราะห์

ผลสำรวจ 50 ปี บางทีบ่งชี้ว่ามีหรือเคยมีสิ่งมีชีวิต ครั้นเจอข้อมูลใหม่กลับตรงกันข้าม แล้วพอสำรวจอีกหน ข้อมูลกลับตาลปัตรไปคนละเรื่อง คำตอบกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ นั่นเพราะข้อมูลไม่ชัดเจน บทสรุปย่อมไม่ชัด

แล้วปัจจุบันคำตอบว่ายังไง แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเริ่มต้นที่น้ำ ถ้าไร้น้ำก็ไร้สิ่งมีชีวิตตามไปด้วย ลำพังน้ำเฉยๆ ก็ยังไม่พอ น้ำจะต้องมีสถานะเป็นของเหลว แปลว่า อุณหภูมิต้องอบอุ่น

นักวิชาการโดยมากบอกว่า สภาพมฤตยูปัจจุบันบนดาวอังคารที่เย็นติดลบร้อยองศาเซลเซียสนั้นปราศจากสิ่งมีชีวิตแน่ๆ ถ้าอดีตต่างออกไป สิ่งมีชีวิตก็อาจเคยป้วนเปี้ยนอยู่ ดังนั้น เป้าหมายสำรวจดาวอังคาร คือ ควานหาสิ่งมีชีวิตหรือร่องรอยอดีตสิ่งมีชีวิต รวมถึงร่องรอยอดีตน้ำบนดาวอังคารด้วย ถ้าอดีตดาวอังคารเคยมีน้ำเจิ่งนอง ครั้งหนึ่งบนดาวอังคารน่าจะเคยปรากฏสิ่งมีชีวิต

ย้อนกลับไป 46 ปีที่แล้ว ยานอวกาศมารีเนอร์-4 (Mariner-4) ของนาซาถ่ายภาพขยายดาวอังคาร 21 รูปกลับมายังโลก เท่ากับเผยโฉมพื้นผิวดาวอังคารครั้งแรก ปรากฏหลุมอุกกาบาตตะปุ่มตะป่ำคล้ายดวงจันทร์ของเราราวกับแกะ

อีกอย่าง ยานมารีเนอร์-4 ยังอุตส่าห์เผยโฉมบรรยากาศดาวอังคารที่บางเฉียบแค่ 0.05% ของโลก มิหนำซ้ำคาร์บอนไดออกไซด์ข้นคลั่กกว่าโลก 30 เท่า

 ข้อมูลเหล่านี้บอกอะไรได้บ้าง บอกว่าดาวอังคารตายซากไม่มีอะไรเหมือนโลกสักนิด อุณหภูมิเฉลี่ยติดลบปาไป 90 องศาเซลเซียส หนาวเหน็บขนาดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังแข็งตัว ขั้วดาวอังคารสีขาวโพลนจึงเป็นคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง (dry ice) ไม่ใช่น้ำแข็ง (water ice)

แหล่งน้ำบนดาวอังคาร

ประเด็นสีขาวโพลนขั้วดาวอังคาร ผลสำรวจยานมารีเนอร์-6 และ 7 ยืนกรานอีกรอบเดียวกันคือคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง ไม่ใช่น้ำแข็ง

แล้วร่องรอยน้ำบนดาวอังคารล่ะ คำตอบอยู่ตรงลักษณะพื้นดาวอังคาร 40 ปีที่แล้ว ภาพถ่ายจากยานมารีเนอร์-9 พบภูเขาไฟมหึมา สูงลิ่วกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ของโลก 3 เท่า โตรกธาร (Canyon) มโหรีมโหฬารสูงชันถึง 9 กิโลเมตร ทอดตัวยาว 4 พันกิโลเมตรจากเส้นศูนย์สูตรปัจจุบันเรียก Valles Marineris

ลักษณะพื้นผิวบางช่วง คลับคล้ายคลับคลาก้นแม่น้ำที่แห้งขอด บ่งชี้อดีตน้ำเคยไหลโกรกกราก คำถาม คือปัจจุบันแรงดันบรรยากาศดาวอังคารต่ำสุดกู่ ไฉนน้ำเคยไหลโกรกมีอยู่ทางเดียว อดีตแรงดันบรรยากาศดาวอังคารจะต้องสูง นั่นคือบรรยากาศหนาเตอะ ซึ่งก็ทำให้อุณหภูมิอบอุ่นพอที่น้ำคงสถานะของเหลว

จากข้อมูลทั้งหลายแหล่ นักวิชาการส่วนใหญ่คะเนว่า ดาวอังคารท่าจะตายซากไปแล้ว เมื่อ 1 พันล้านปีก่อน อีกอย่างพื้นผิวดาวอังคารแตกต่างลิบลับ ระหว่างครึ่งซีกเหนือและครึ่งซีกใต้ ในขณะที่ซีกเหนือเต็มไปด้วยภูเขาไฟยักษ์ พื้นที่ราบลาวาทับถม และโกรกธารมหึมา ส่วนครึ่งซีกใต้กลับเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตระเกะระกะ ลักษณะพื้นผิวเหล่านี้ ล้วนชี้ไปที่น้ำ ดาวอังคารไม่ใช่แค่เคยมีน้ำ แต่น้ำเพียบแปล้ชนิดท่วมท้นดาวอังคารไปเลย

จากจุดนี้ช่วยให้เราๆ ท่านๆ ทราบว่า นักวิชาการนาซาโดยมากที่สุดเริ่มรู้เลาๆ ถึงหลักฐานน้ำบนดาวอังคารตั้งแต่ 40 ปีก่อน พวกเขารู้จากภาพถ่ายตั้งแต่ยานมารีเนอร์ 7 ถึง 8

หันมาชมฝีมือรัสเซียบ้าง

ในเวลาเดียวกัน รัสเซียก็ไม่ได้นั่งนิ่งเฉย แค่ 3 ปี รัสเซียส่งยานอวกาศไปดาวอังคารถึง 3 ลำรวด  ผลสำรวจออกจะลี้ลับไม่เปิดเผย หลายฝ่ายคาดว่าไม่สู้ดีนัก โดยเฉพาะลำที่ 3 และ 6 มีแผนลงจอดบนดาวอังคารแต่ล้มเหลว จึงหันไปสนใจเรื่องสถานีอวกาศแทน เป็นอันว่าอเมริกาขึ้นแท่นแชมป์สำรวจดาวอังคาร

อย่างที่ผลสำรวจระบุไม่พบสิ่งมีชีวิต แล้วอเมริกาเลยหันไปสนใจเรื่องเหยียบดวงจันทร์เพราะไม่เคยมีใครเหยียบมาก่อน กรณีดาวอังคารเลยแผ่วลง หลังจากอเมริกาส่งมนุษย์เหยียบดวงจันทร์สำเร็จ ก็ทุ่มเทความสนใจกลับมาที่ดาวอังคาร

เปิดฉากที่ยานอวกาศไวกิ้ง 1 และ 2 ภารกิจหลักสำรวจสิ่งมีชีวิต นัยๆ แนวคิดเรื่องสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารชักจะหวนกลับมาใหม่

ยานไวกิ้ง

30 ปีที่แล้ว ยานไวกิ้ง 1 และ 2 ถึงกับปล่อยยานสำรวจลงแตะพื้นดาว ภายในยานสำรวจมีห้องทดลองวิเคราะห์ตัวอย่างดินอัตโนมัติ ผลปรากฏไม่เจอหลักฐานสิ่งมีชีวิต แต่หัวหน้าทีมวิจัยกลับยืนกรานเสียงลั่น พวกเขาพบหลักฐานสิ่งมีชีวิตในตัวอย่างดิน กลายเป็นข้อถกเถียงยาวนานเกือบ 30 ปี

เรื่องราวชักจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จวบจน 20 ปีที่แล้วยานสำรวจจิ๋วภาคพื้นดินโซเจอร์เนอร์ (Sojourner) นับเป็นหนแรกสุดที่ส่งยานสำรวจแล่นฉิวบนดาวอังคาร ส่งภาพพื้นดาวอังคารเสมือนคนเป็นๆ ยืนดูด้วยตาเปล่าวิวทิวทัศน์สุดลูกหูลูกตา

ลำพังอดีตยานมารีเนอร์-9 และไวกิ้งเผยโฉมภูเขาเลากา, หลุมอุกกาบาต และบริเวณอดีตน้ำท่วม ในขณะที่ยานรุ่นใหม่เอี่ยมส่งภาพถ่ายชัดขนาดเห็นรายละเอียดชั้นหินแต่ละชั้นของปากหลุมอุกกาบาตยักษ์ และโกรกธารยักษ์

บางชั้นหินพบร่องรอยแร่ธาตุก่อตัวจำเพาะน้ำ คือว่าถ้าไร้น้ำก็ไร้ชั้นแร่ธาตุดังกล่าว เป็นต้นว่าเมื่อไม่นานมานี้ ยานอวกาศ MRO ส่งภาพชั้นหินก้นหลุมอุกกาบาตที่ระบุชัดอดีตโคลนตม สูงขึ้นไปอีกหน่อยยิ่งเห็นชัดๆ ชั้นโคลนตมผสมแร่ซัลเฟตซึ่งเกิดจำเพาะสภาพเปียกชื้น ชั้นแร่ซัลเฟตนี้เกิดขึ้นหลังน้ำระเหยเท่านั้น

ชั้นหินสูงขึ้นไปจนชั้นสูงสุดไม่ปรากฏชั้นแร่ที่เกิดภายใต้ภาวะเปียกชื้น บวกกับขอบปากหลุมอุกกาบาตและโกรกธารเอียงลาด แปลว่าอดีตน้ำบนดาวอังคารหายทีละนิด ไม่ใช่จู่ๆจะหายวับไปทันที

หลุมอุกกาบาตบนดาวอังคาร

เรื่องน้ำบนดาวอังคารทยอยหายไป เห็นได้จากพื้นดินถูกน้ำกัดเซาะเป็นร่องรอยหยุกหยิกยาวเฟื้อย ซึ่งก็พบเห็นบนพื้นโลกของเราทั่วไป

ล่าสุด ยานสำรวจจิ๋ว Opportunlty ที่กำลังวิ่งฉิวบนดาวอังคารมากว่า 7 ปีมาแล้ว พบร่องรอยทะเลสาบน้ำเค็ม และยานสำรวจจิ๋ว Spirit ก็ติดกึกบนอดีตกองทรายจนขาดการติดต่อถาวร

เหล่านี้คือบทสรุปว่าเคยมีน้ำบนดาวอังคาร ชนิดหมดทางเถียง อย่างไรก็ตามทั้ง Opportunity ทั้ง Spirit ไม่ได้ถูกออกแบบสำรวจสิ่งมีชีวิต งานนี้จึงตกอยู่กับยานรุ่นใหม่ของนาซา คิวริออสซิตี (Curiosity)

ยานคิวริออสซิตีน้ำหนัก 1 ตัน ขนาดพอฟัดพอเหวี่ยงรถเก๋ง เพิ่งถูกปล่อยจากโลกไปเมื่อปี 2554 และจะบินว่อนถึงดาวอังคาร  6 สิงหาคม 55 และก็จะวิ่งฉิวบนพื้นดาวอังคารเพื่อสำรวจถี่ยิบถึงสิ่งมีชีวิตและร่องรอยสิ่งมีชีวิตนาน 2 ปี นี่ก็คือเรื่องราวของน้ำและสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ตั้งแต่ต้นจนจบ

จากการประมวลผลรายงาน การสำรวจดาวอังคารทั้งจากของสหรัฐฯ และโซเวียตแล้ว พอจะสรุปได้ว่า ดาวอังคารนั้นน่าจะมีสิ่งมีชีวิต  ทั้งแบบสัตว์ชั้นต่ำประเภทสัตว์ป่าโดยทั่วไป ตลอดจนอาจมีมนุษย์ภูมิปัญญาสูง แบบบนพื้นโลกเราด้วย แต่ไม่อาจสรุปได้ชัดเจนว่ามีอยู่เมื่อไร  หากไม่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว อาจมีอยู่เมื่อหลายพันปีมาแล้วก็ได้ เพราะจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทางธรณีวิทยา  พบว่าดาวอังคารมีสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต เพราะมีหลักฐานการมีน้ำอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ถึงขั้นมีน้ำเจิ่งนองไปทั่วพื้นผิวดาว และมีชั้นบรรยากาศอยู่ด้วย แต่ก็ยังไม่อาจตัดประเด็นการมีสิ่งมีชิตอยู่ในปัจจุบัน เพราะมีการพบทะเลสาปขนาดใหญ่ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มอยู่บนผิวดาวด้วย  และยังมีชั้นบรรยากาศบางเบาอยู่ด้วย

เรื่องโดย. ทิวากร สุวพานิช

ภาพโดย. www.wallpapersafari.com, www.wallpaperscraft.com, www.wallpaperflare.com, www.solarsystem.nasa.gov, www.jpl.nasa.gov, NASA/JPL-Caltech, NASA/JPL-Caltech/ASU/UA., www.pawena5651.wordpress.com


แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •