16 เมษายน 2024
แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

                         คนบารี หรือที่รู้จักกันในชื่อชนเผ่าคาโร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในซูดานใต้เป็นส่วนใหญ่ และมีบางส่วนที่กระจัดกระจายอยู่ติดกันทางตะวันตกเฉียงเหนือของยูกันดา พวกเขาเป็นที่รู้จักในนาม Duor โดยชุมชนอื่นๆ ที่ครอบครองดินแดนสะวันนาของแอฟริกา

                         ชาวเผ่าบารีแห่งแม่น้ำไนล์เป็นนักทำเกษตรธรรมชาติ กล่าวคือพวกเขาจะทำการเลี้ยงวัว ล่าสัตว์โดยอาศัยดินแดนแถบที่อยู่ประจำของพวกเขาเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำกินจากดินแดนสะวันนา ไปตามแม่น้ำไนล์และไกลออกไป 40 ไมล์ทางตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำไนล์  ซึ่งในการทำอาชีพปศุสัตว์ในดินแดนของตนเองนั้น  ส่วนใหญ่ชาวบารีจะเลี้ยงเพื่อเสริม เพราะสัตว์เหล่านี้หมายถึงสมบัติที่บารีมี ถ้าหากพวกเขามีแพะ แกะ หรือวัวมากมาย บารีก็จะกลายเป็นคนร่ำรวยในสายตาของเพื่อนบ้าน ดังนั้นสัตว์เหล่านี้ที่เลี้ยงไว้ จึงไม่ใช่เพื่อขาย หากแต่จะถูกแลกเปลี่ยนเป็นของขวัญในการแต่งงานและหน้าที่ทางสังคมอื่นๆ หรือใช้ในการเฉลิมฉลองและงานศพเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่มีความต้องการเงินทองเกิดขึ้น ซึ่งน้อยครั้งมาก เนื่องจากเงินไม่มีความจำเป็น หากจำเป็นขึ้นมา บารีจึงจะขายสัตว์เหล่านี้เพื่อแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินสด

                         ตลอดเวลาที่ผ่านมาชาวบารีอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่อง ในอดีตชาวบารีได้รับความสูญเสียจากพ่อค้าทาส และถูกบังคับโดยชาวเบลเยี่ยมเข้าสู่ค่ายแรงงานในแอฟริกาและใช้เป็นพนักงานขนกระเป๋างาช้างไปยังชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก แม้กระทั่งในปัจจุบัน สงครามกลางเมืองก็ส่งผลกระทบต่อชาวบารีมากที่สุด     

                         ตามปกติแล้วชาวบารีจะรักความสงบ แต่เมื่อถึงคราวต้องสู้ คนบารีก็จะสู้ไม่ถอย เหมือนอย่างสงคราม หรือต่อต้านชาวต่างชาติที่เข้ามากดขี่ผู้คนในแอฟริกา ชนเผ่าบารีที่มีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์เผ่าอื่นใกล้เคียงได้ดี กลับต้องหยิบอาวุธขึ้นมาเพื่อปกป้องดินแดนของพวกเขาจากพ่อค้าทาสและนักรบที่ปล้นสะดม ตามประวัติศาสตร์เล่าว่าสงครามที่สำคัญที่สุดที่ทำให้คนต่างชาติต้องจดจำไปจนวันตาย นั่นก็คือวันที่บารีต่อสู้กับกลุ่มชาวตุรกีที่บุกรุกเข้ามายังดินแดนของบารีเพื่อจับคนไปเป็นทาส ในครั้งนั้นบารีล้มตายลงไปเป็นอันมาก แต่กลุ่มพ่อค้าทาสก็ถูกฆ่าตายไม่เหลือ

                         โดยปกติแล้วชนเผ่าบารีจะมีความเชื่อในพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพและมีวิญญาณทรงพลัง (ดีและชั่ว) ทุกวันนี้ประชากรของบารีประกอบด้วยคริสเตียน (คาทอลิกและโปรเตสแตนต์) มุสลิม และผู้ที่ยังคงนับถือศาสนาดั้งเดิมของชนเผ่า แต่ไม่ว่าจะนับถือศาสนาหรือลัทธิใด บารีก็สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีการกระทบกระทั่งกัน

                         ในอดีตที่ผ่านมามีขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งชาวบรีถือปฏิบัติมาตลอดจนกลายเป็นพิธีกรรมและเป็นแฟชั่นในหมู่ชนเผ่าที่จะได้รับพิธีเริ่มต้น ก็คือทั้งเด็กชายและเด็กหญิงจะถูกจับถอนฟันหน้าข้างล่าง อีกทั้งเด็กผู้หญิงยังมีรอยสักบริเวณท้องด้านข้าง หลัง และใบหน้า ในรูปแบบของรูปลูกศรหรือดอกไม้ง่าย ๆ แต่ในปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว จะมีบ้างก็สำหรับครอบครัวที่ยังยึดติดกับขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมเท่านั้น

                         จะว่าไปแล้ว เลียบฝั่งแม่น้ำไนล์ในใจกลางดินแดนบารีเป็นที่ตั้งหมู่บ้านประวัติศาสตร์ของ Mongalla, Lado , Gondokoro (Kondokoro) และ Rejaf (Rageef)  หรือแม้กระทั่งเมืองจูบา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของซูดานใต้ก็อยู่ในดินแดนบารีซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปสิบไมล์ทางใต้ของ Gondokoro และเจ็ดไมล์ทางเหนือของ Rejaf

                         แต่เดิมมาในอดีต ชาวบารีตั้งรกรากอยู่ในดินแดนปัจจุบันก่อนที่จะสิ้นสุดการอพยพข้ามแดนครั้งใหญ่ในแอฟริกา ตอนที่ชนเผ่าลูโอบุกเข้ามาและอพยพผ่านดินแดนบารีประมาณปี ค.ศ. 1650 จากนั้นมาชนเผ่าบารีได้กลายเป็นนักเลี้ยงสัตว์เกษตรผู้อยู่อาศัยและค้าขายอย่างสงบสุขกับกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อนบ้าน

                         การเดินทางเพื่อค้นหาแหล่งที่มาของไวท์ไนล์เข้ามาในดินแดนบารีเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1841 โชคไม่ดีที่ความคืบหน้าในการแสวงหาความรู้ครั้งนี้ ผู้บุกรุกที่ไม่พึงประสงค์ในรูปแบบของพ่อค้าชาวยุโรปและตุรกีมองหาทาสและงาช้าง นี่เป็นครั้งแรกที่บารีพบนักเดินทางชาวยุโรป ชาวบารีพบกับการเผชิญหน้าครั้งสำคัญกับกองทัพตุรกีซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกป้องนักสำรวจแม่น้ำไนล์ แต่มีหลายคนที่ทำการข่มเหงชาวบารีจนทำให้ชนเผ่านี้ต้องลุกขึ้นมาปกป้องตนเอง และทำให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใหม่ไม่กล้าที่จะขืนน้ำใจชาวบารีอีก

                         ในการเดินทางเข้ามาเพื่อค้นหาแหล่งที่มาของไวท์ไนล์ยังพบว่างาช้างนั้นอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่บารี ช่วงนี้เองที่ทำให้การล่าช้างเกิดขึ้น ช้างแอฟริกาจำนวนมากถูกทำลาย การต้องการงาช้างเพิ่มมากขึ้น  ในขั้นต้นพ่อค้าชาวยุโรปและชาวอาหรับเริ่มสนับสนุนการเดินทางไปยัง Gondokoro เพื่อซื้องาช้าง และเป็นเวลากว่าทศวรรษที่บารีขายงาช้างและสิ่งของอื่นๆ ให้กับพ่อค้าโดยเสรี โดยไม่มีการข่มขู่และไม่มีใครกล้าเข้ามาจับบารีไปเป็นทาสในตอนนั้น

                         ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1854 ความสัมพันธ์อันสงบสุขระหว่างผู้ค้า นักสำรวจและบารีสิ้นสุดลงเมื่อพ่อค้าชาวตุรกีได้มีการยั่วยุยิงปืนของเขาเข้าไปในฝูงชนของบารีที่ Gondokoro ดังนั้นบารีจึงตอบโต้ด้วยการโจมตีทำลายล้างที่ตั้งแคมป์ของชาวตุรกีจนเกิดความเสียหายทั้งสองฝ่าย หลังจากนั้นบารีก็เริ่มมีการป้องกันคนภายนอกเข้ามา และความเป็นมิตรกับคนต่างถิ่นก็น้อยลง พ่อค้า (ส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับและชาวเติร์ก) ใช้วิธีการรุนแรงเพื่อจัดหางาช้าง และก็เริ่มที่จะจับชายหนุ่มและหญิงชาวบารีไปเป็นทาส ผู้หญิงถูกข่มขืนหรือถูกจับไปขาย พ่อค้าบางคนถึงกับสร้างป้อมปราการใกล้ Gondokoro ซึ่งเป็นจุดขนส่งลงแม่น้ำไนล์ที่สำคัญของแอฟริกา

                         สมุดบันทึกของมิชชันนารีชาวยุโรปในภูมิภาคนี้ระบุว่าในตลาดของไคโร (อียิปต์) จำนวนทาสที่จะขายให้กับยุโรปจากพื้นที่ไวท์ไนล์เพิ่มขึ้นจาก 6,000 คน ระหว่างปี 1858 และ 1862 เป็นประมาณ 12,000-15,000 คนต่อปี ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนของชนเผ่าบารี ดิงกา และมันดารี รวมถึงคนของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงบารีถูกจับไปขายเป็นทาสเป็นอันมาก ในขณะที่การตามล่างาช้างรุนแรงขึ้นในช่วงเวลานั้น โดยเฉพาะเมื่อซามูเอล ไวท์ เบเกอร์ มาถึง Gondokoro เล่ากันว่าในปี 2408 มีทาสประมาณ 3,000 คนที่รออยู่ที่ Gondokoro เพื่อรอลงแม่น้ำไนล์ออกไปขายต่างประเทศ ถึงตอนนั้นชาวบารีและชนเผ่าอื่นจึงลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องคนของตน จนกระทั่งมีคนล้มตายลงไปมากมาย

                         ซามูเอล ไวท์ เบเกอร์กลับมาอีกครั้งในปี 2412 โดยมีจุดประสงค์อย่างชัดเจนในการเลิกค้าทาส แต่เมื่อมาถึงตอนนี้ผู้คนและดินแดนบารีก็ถูกทำลายย่อยยับไปแล้ว ชาวบ้านบารีเล่าให้เราฟังว่านานแค่ไหนที่ดินแดนขนาบข้างแม่น้ำไนล์เต็มไปด้วยหมู่บ้านหลายแห่งที่แผ่ขยายออกไปสู่ขอบฟ้าเท่าที่ดวงตามองเห็น  การเข้ามาของคนภายนอกครั้งนี้จึงไม่ได้รับความสนใจ และถูกต่อต้านจากชาวบารีที่เหลืออยู่โดยเฉพาะหัวหน้าเผ่าบารีที่จับอาวุธขึ้นมาสังหารกลุ่มพ่อค้าทาสจนตายสิ้นในก่อนหน้านั้น

                         ในอดีตไม่ใช่เรื่องแปลกที่บารีจะใช้การแต่งงานระหว่างกันเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัว  แม้ว่าบางครั้งจะมีการเตรียมการเหล่านี้เมื่อเด็กยังเล็กมาก ราคาเจ้าสาวไม่จำเป็นต้องจ่ายจนกว่าเด็กที่หมั้นจะถึงอายุแต่งงาน วันนี้การแต่งงานในหมู่บารีมักเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาของการเกี้ยวพาราสีมากขึ้น ตามด้วยความยินยอมของครอบครัวที่เกี่ยวข้อง

                         หลังจากช่วงเวลาของการเกี้ยวพาราสี ผู้ชายก็จะประกาศความตั้งใจของเขาที่จะแต่งงาน ( nyera ใน บารี ) โดยนำเสนอตัวเองที่บ้านของพ่อแม่ของเด็กผู้หญิงพร้อมกับญาติสนิทและเพื่อน  ก่อนพิธีแต่งงาน ( budu มักจะหลายเดือนต่อมา) ครอบครัวจะมาพบกันที่บ้านพ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อต่อรองราคาเจ้าสาวที่เจ้าบ่าวมีหน้าที่ต้องเสนอ  พ่อแม่ของเจ้าสาวและเจ้าบ่าวไม่เคยมีส่วนร่วมโดยตรงในการเจรจาแม้ว่าพวกเขาจะมีส่วนร่วมทางอ้อมและเบื้องหลัง 

                         เนื่องจากบารีเป็นนักทำอาหารสัตว์มาเป็นเวลานาน ราคาเจ้าสาวจึงจ่ายด้วยสัตว์ที่มีชีวิต ไม่ใช่เป็นเงินทอง ราคาเจ้าสาวโดยทั่วไปอาจประกอบด้วยวัวสิบตัวและแกะกับแพะ 40 ตัว เมื่อการใช้สัตว์นั้นยากเกินไปเช่นในกรณีของภัยแล้งหรือภัยธรรมชาติ ราคาของเจ้าสาวในรูปของเงินสดอาจเป็นที่ยอมรับได้ เมื่อการเจรจาประสบความสำเร็จ ทั้งสองครอบครัวจะอวยพรการแต่งงานและเริ่มงานเลี้ยงที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นการดื่มและเต้นรำ  หลังจากงานเลี้ยงเจ้าบ่าวกลับบ้านคนเดียว แต่หลังจากนั้นประมาณสองสัปดาห์เจ้าสาวก็จะมาถึงเพื่อดูแลบ้านใหม่ของเธอ

/

เรื่องโดย. ตะวัน สัญจร

ภาพโดย. fatherlandgazette.com, africanelephantjournal.com, en.wikipedia.org, animalsurvival.org


แชร์เรื่องนี้:
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •